เกี่ยวกับเรา
ย่านนวัตกรรมเกษตรและอาหารแม่โจ้
โครงการย่านนวัตกรรมเกษตรและอาหารแม่โจ้
สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (องค์การมหาชน) (สนช.)ได้วางแผนยุทธศาสตร์การพัฒนาเชิงพื้นที่เพื่อส่งเสริมให้เกิดการยกระดับกลุ่มคลัสเตอร์ทางธุรกิจ ที่รวบรวมทั้งกลุ่มวิสาหกิจเริ่มต้น ศูนย์บ่มเพาะการเติบโตทางธุรกิจ ตลอดจนระบบเทคโนโลยีดิจิทัลที่ให้บริการในพื้นที่เพื่อดึงดูดให้เกิดการลงทุน การพัฒนาธุรกิจและนวัตกรรมต่างๆ เกิดเป็นย่านนวัตกรรมที่สามารถขับเคลื่อนเศรษฐกิจและสังคม สนช.ได้เล็งเห็นศักยภาพและโอกาศในการยกระดับพื้นที่บริเวณรอบมหาวิทยาลัยแม่โจ้ จังหวัดเชียงใหม่ ให้เป็นย่านนวัตกรรมเนื่องจากมีศักยภาพในการพัฒนาที่ชัดเจน ทั้งทำเลที่ตั้ง เป็นพื้นที่เมือง การคมนาคมขนส่งที่สะดวก ความเข้นข้นของกิจกรรมทางนวัตกรรมการเกษตร ตลอดจนโครงการวิจัยด้านการเกษตรที่สามารถสร้างให้เกิด “นวัตกร”ที่มีความสามารถ
องค์ประกอบเหล่านี้ล้วนเป็นประโยชน์ต่อการพัฒนา และการเร่งการเติบโตทางเศรษฐกิจ และคุณภาพชีวิตของคนในพื้นที่ อันจะช่วยดึงดูดทุนมนุษย์ทางนวัตกรรม เช่น Startup,SMEs, Innovators, Anchored ก่อให้เกิดผลิตภัณฑ์และสินค้าใหม่ที่มีศักยภาพสูง รวมทั้งการสร้างงานแห่งอนาคต
การพัฒนาย่านนวัตกรรมเกษตรและอาหารแม่โจ้ มุ่งสู่การเป็นพื้นที่พิเศษที่ที่มุ่งสนับสนุน บุคลากร ธุรกิจ กลุ่มคลัสเตอร์และสตาร์ทอัพที่มีศักยภาพในพื้นที่เพื่อสร้างระบบนิเวศนวัตกรรม (Innovation Ecosystem) โดยความท้าทายในการพัฒนาย่านนวัตกรรมเกษตรและอาหารแม่โจ้ คือ การค้นหาอัตลักษณ์ (Identity) ของย่านและพัฒนาระบบนิเวศนวัตกรรมของย่านทั้งในด้านอุปสงค์ (Demand) และอุปทาน (Supply) ของการพัฒนานวัตกรรมในย่าน ถึงแม้ว่าบริบทในการพัฒนาย่านนวัตกรรมแต่ละย่านจะมีความ แตกต่างกัน แต่มีแนวทางในการพัฒนาย่านนวัตกรรมซึ่งเป็นกรอบการพัฒนาย่านให้มีความสอดคล้อง สามารถ สนับสนุนศักยภาพการพัฒนาย่านแต่ละย่านได้อย่างมีประสิทธิภาพคล้ายกัน โดยการพัฒนาการจัดการส่งเสริม การพัฒนาย่านนวัตกรรมเกษตรและอาหารแม่โจ้ ดังต่อไปนี้
วัตถุประสงค์
- เพื่อส่งเสริมความเข้มแข็ง ของเครือข่ายด้านนวัตกรรมการเกษตรและในพื้นที่ย่านนวัตกรรม
พื้นที่
พื้นที่ศึกษาบริเวณย่านนวัตกรรมเกษตรและอาหารแม่โจ้ มีเนื้อที่ประมาณ 5.61 ตารางกิโลเมตร (3,506.25 ไร่)
โดยมหาวิทยาลัยแม่โจ้เป็นศูนย์กลาง ถ่ายทอดเทคโนโลยีและนวัตกรรม ด้านการเกษตร (พืช ปศุสัตว์ ประมง) อาหาร พลังงาน และสิ่งแวดล้อม
Areas with potential for development
1. พื้นที่วิจัยนวัตกรรม การพัฒนาพื้นที่ใหม่ หรือปรับปรุงฟื้นฟู พื้นที่เดิมสำหรับ การวิจัย (Research Lab) ให้มีความพร้อมในการพัฒนานวัตกรรม โดยพื้นที่ที่ เข้าข่ายการพัฒนาได้แก่
A1 - Maejo Innovation Center
A2 - Transition Zone : core area
A3 - Farm for Feed
A4 - Open Farm space and Workshop
2. พื้นที่ทดลองและถ่ายทอดนวัตกรรม Supportive Outside Area พื้นที่ ถ่ายทอดนวัตกรรมเข้าสู่การใช้งานจริง /การบริการที่เกิดประโยชน์สูงสุด
B1 - สำนักงานเกษตรอำเภอสันทราย
B2 - สถานีทดลองยาสูบแม่โจ้
B3 - ศูนย์วิจัยพืชไร่เชียงใหม่
B4 - ศูนย์วิจัยและพัฒนาการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำจืดเชียงใหม่
B5 - ศูนย์หม่อนไหมเฉลิมพระเกียรติฯ เชียงใหม่
3. พื้นที่นวัตกรรมเพื่อผลทางเศรษฐกิจ พื้นที่ส่งเสริมเศรษฐกิจภายในย่าน โดยจัด ให้มีการนําผลงานนวัตกรรมการวิจัยด้านการเกษตรและอาหาร ส่งต่อไปยัง ผู้บริโภคภายในย่าน และเป็นพื้นที่ดึงดูดความสนใจแก่ผู้คนทั้งที่อาศัยอยู่ภายในย่านและพื้นที่โดยรอบ ได้แก่
C1 - พื้นที Organic Food Market
C2 - พื้นที Gen ZY Zone
ผังแม่บทการพัฒนาย่านนวัตกรรมการเกษตรและอาหารแม่โจ้
สินทรัพย์
บริการ
ประชุม-สัมนา
เครือข่าย / Partner
สินทรัพย์
นวัตกร
นวัตกรรมเด่น
นวัตกรรมพร้อมใช้
สินทรัพย์
นวัตกร
นวัตกรรมเด่น
Copyright 2023. All Rights Reserved.